อุปกรณ์ที่ใช้งานในระบบนิวเมติกส์ ที่สำคัญ คือ
ชุดกรองลมดักน้ำ ชุดบริการลมอัด F.R.L Unit หรือ FRL Combination/ Preparation unit ใช้สำหรับปรับปรุงคุณภาพลม ที่ได้รับการลดฝุ่นและดักน้ำ ที่ออกมาจากปั๊มลม ซึ่งเต็มไปด้วยไอน้ำ และยังคงมีฝุ่นหลงเหลืออยู่ แม้จะผ่านการลดไอน้ำ และผ่านหม้อกรองลมหลัก (Main Filter) แล้วก็ตาม
- อักษร F หรือ AF มาจากคำเต็มว่า Air Filter หรือตัวกรองลมดักน้ำ ตัวกรองที่ใช้ในท่อลมสาขาก่อนเข้าเครื่องจักร สามารถกรองฝุ่นขนาดเกิน 40, 0.3 หรือ 0.01ไมครอน ให้เลือกใช้พร้อมทั้งกรองไอน้ำออกได้ สำหรับ ฟิลเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต่อหลังปั๊มลม จะมีตะแกรงกรองขนาด 50 ไมครอน
- อักษร R หรือ AR มาจากคำเต็มว่า Air Regulator หรือ ตัวปรับแรงดันลม เครื่องปรับแรงดันลม อุปกรณ์ควบคุมความดันลม
- อักษร L หรือ AL มาจากคำเต็มว่า Air Lubricator หรือ ตัวผสมน้ำมันหล่อลื่น เครื่องผสมน้ำมันล่อลื่น อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น
- ชุดกรองลมดักน้ำ 9 แบบ 3 ตัวเรียง เขียนสั้นๆว่า F.R.L
- ชุดกรองลมดักน้ำ 9 แบบ 2 ตัวเรียงกัน เขียนสั้นๆว่า FR.L
รูปกรองลมดักน้ำ ปรับแรงดันผสมน้ำมัน (F.R.L) แบบ 3 ตัวเรียง

1. ตัวกรองลมดักน้ำ อุปกรณ์กรองลมดักน้ำ (Filter, Air Filter)
1.1 ตัวกรองลมดักน้ำในท่อเมน (Main Line Air Filter)

- ตัวกรองลมดักน้ำทำหน้าที่กรองฝุ่นละออง ทำให้ลมอัดมีความสะอาดก่อนนำไปใช้งานโดยมีหลักการทำงานดังนี้
- เมื่อลมอัดผ่านช่อง (P1) เข้าคลีบ บังคับลม มีผลทำให้ลมเกิดการหมุนวน น้ำซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าลม จะถูกเหวี่ยงไปปะทะกับหลอดแก้ว ไหลลงสู่ด้านล่างดังรูป ลมที่ไหลผ่านช่อง (P2) จะเป็นลมที่มีความสะอาด

รูปไดอะแกรม (main-line-filter)
สัญลักษณ์

รูปตัวกรองลมดักน้ำสำหรับท่อแมนกรองได้ขนาด 40, 5 ไมครอน AirTAC

1.2 ตัวกรองลม อุปกรณ์ลมในท่อสาขาหรือที่เครื่องจักร (Branch Line Filter, Air Filter) ทำหน้าที่กรองฝุ่นและดักไอน้ำ โดยมีตระแกรงกรองขนาด 40, 5, 0.3, 0.01 ไมครอน เพื่อให้เลือกใช้ให้เหมาะกับงาน
ตัวกรองลมดักน้ำ (Filter) สามารถเขียนย่อสั้นๆว่า “F”

ตัวกรองดักลมรุ่น GF600 AirTAC
โครงสร้างภายในของตัวกรองลมดักน้ำ AirTAC

รูปแสดงภายในของตัวกรองลม
สัญลักษณ์

ตัวกรองลมดักน้ำแบบมือหมุนระบายน้ำ (Manual Drain)

- เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้น เราจะทำการหมุนมือหมุน เพื่อการระบายน้ำออก
ตัวกรองลมดักน้ำแบบระบายน้ำอัตโนมัติ (Auto Drain)

- เมื่อปริมาณน้ำมากขึ้น จะทำให้ลูกลอยเลื่อนขึ้น ก้านยกลิ้น เปิดทำให้ลมผ่านไปดันลูกสูบเลื่อน ซีลจะเปิดน้ำในกระบอกแก้ว ให้ไหลออก
2 ตัวปรับแรงดันลม ตัวปรับความดันลมตัวควบคุมความดันลม Air Regulator, Regulator คือตัวปรับให้แรงดันด้านขาออกของตัวปรับแรงดันลมเป็นไปตามความต้องการใช้งานอย่างคงที่ ซึ่งโดยปรกติมักปรับอยู่ที่ประมาณ 3-5 Bar ตัวปรับแรงดันลม (Regulator) สามารถเขียนย่อๆว่า “R”
ตัวปรับแรงดันลม AirTAC รุ่น GR, AR, BR (Regulator GR, AR, BR Series)

**หมายเหตุ
- ตัวปรับแรงลม (Air Regulator) แบบลมย้อนได้ใช้กับกรณีที่ ใช้กับงานไม่ใช่งานทั่วๆไป กล่าวคือ ลมที่ผ่านตัวปรับแรงลมไปใช้กับตัว Stopper Cylinder เป็นต้น (ปัญหาคือ Stopper Cylinder) เป็นกระบอกลมใช้กับงานเฉพาะ คือต้องการที่จะหยุด ของหนักๆที่วิ่งมาให้ช้าลงจนหยุดในระยะทางสั้นๆทำให้เกิดแรงกระทำกับลูกสูบซึ่งโดนกระแทกทำให้เกิดความดันลมที่สูงขึ้นมากดันย้อนกลับไปที่ตัวปรับแรงดันลม (Air Regulator) ซึ่งแรงดันลมที่สูงมากจะไหลผ่านตัวเช็ควาล์วจึงไม่มีแรงดันลมกระทำรุนแรงต่ออุปกรณ์ภายในของตัวปรับแรงลม เช่น ไดอะแฟม เป็นต้น
- ตัวปรับแรงลมแบบลมย้อนไม่ได้ ใช้กับงานทั่วๆไปที่ไม่มีการเพิ่มของแรงดันลมขาออกมากมาย เหมือนในข้อ 1. ซึ่งถ้าการกระแทกของแรงดันลมที่เพิ่มขึ้นสูงมากจะไปทำลายไดอะแฟมให้เสียหาย ซึ่งจะสังเกตุได้จากเสียงลมรั่วผ่านไดอะแฟมที่ถูกทำลาย
ตัวกรองลมดักน้ำ (Filter) และตัวปรับแรงดันลม (Regulator) ในตัวเดียวกัน สามารถเขียนสั้นๆว่า FR สามารถใช้ได้เหมือนกับตัวกรองลมดักน้ำที่ต่อเรียงกับตัวปรับแรงดันลมได้เหมือนกัน แต่ประหยัดพื้นที่มากกว่า


ตัวปรับแรงดันลม (Air Regulator)
- เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันออกไปใช้งาน ให้มีค่าคงที่อยู่เสมอ ถ้าความดัน (P2) ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ สปริงจะดัน แหวนรอบลิ้นวาล์ว (4) ให้ลิ้นวาล์ว (3) เปิดออก ลมจากทางลมเข้า (P1) ก็จะไหลออกมาที่ช่อง (P2) จึงทำให้ลมมีความดัน (P2) สูงขึ้นจนเท่ากับแรงดันของสปริง ลิ้นวาล์ว (3) ก็ปิดลง
1.3 ตัวผสมน้ำมันหล่อลื่น ตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator (L)


รูปตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator
- ตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator เป็นอุปกรณ์หน้าที่ผสมน้ำมันหล่อลื่น เข้าในระบบ เพื่อช่วยล่อลื่นชิ้นส่วนของอุปกรณ์นิวเมติกส์ต่างๆ เช่น โซลินอยด์วาล์ว กระบอกลม กระบอกสูบ ที่มีการเคลื่อนที่ เพื่อยืดอายุการใช้งาน

รูปตัวผสมน้ำมัน Air Lubricator
- เมื่อมีลมอัดเข้าช่อง (A) ผ่านรูเชื่อต่อ (C) แล้วไหลผ่านช่องว่างที่มีละอองน้ำมัน (7) ซึ่งมากจากบริเวณรูน้ำมัน (8) และห้อง (D) เกิดเป็นสุญญากาศ น้ำมันจะถูกดูดขึ้นทางท่อ (3) และจะหยดลงไปในรูน้ำมัน น้ำมันจะถูกฉีดให้เป็นฝอย ไหลผ่านช่อง (B) การปรับน้ำมันล่อลื่น สามารถปรับได้ที่ช่องสกรู (4) หรือเป็นหัวสกรูใหญ่พอให้ใช้นิ้วมือหมุนปรับได้