ข้อควรระวังในการติดตั้งกระบอกลม (Air Cylinder)

กระบอกลม

อายุการใช้งานของกระบอกลมเบื้องต้น (Actuator Air-Cylinder) มาจากการติดตั้งที่ถูกต้องข้อสำคัญคือ ก้านสูบต้องไม่ถูกแรงที่มีทิศทางที่ งัดลูกสูบ-โอริง-กระบอกลมซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายหรืออายุการใช้งานสั้นลง

สิ่งที่สำคัญในการติดตั้งกระบอกลม คือจุดศูนย์กลางของแกนลูกสูบกระบอกลมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน/โหลด (Load) เพื่อไม่ให้มีแรงงัดต่อก้านสูบ ลูกสูบโอริง และฝาด้านในของกระบอกลม ซึ่งจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง

อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดตั้งกระบอกลมกับเครื่องจักร (Accessories for installing Air Cylinder to Machine)

อุปกรณ์ต่อใช้ร่วมกับการติดตั้งใช้งานกระบอกลม (Air Cylinder) มี 3 ชนิด คือ

  • ตัวติดยึด (Bracket) กับกระบอกลมกับเครื่องจักรหรือสิ่งยึดติดอื่นๆ
  • จอยหรือข้อเกี่ยว (Joint or Knuckle) ใช้ยึดระหว่างปลายก้านสูบกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร
  • สวิทช์เซนเซอร์ (Sensor Switch)

1. อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมหรือตัวยึด (Bracket) สำหรับติดยึดตัวกระบอกลมใช้เพื่อให้ตัวกระบอกลมยึดติดส่วนที่แข็งแรงของเครื่องจักร

วิธีเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วม

อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดยึดตัวกระบอกลม ไม่ว่าจะเป็นแบบยึดติดกับพื้น หรือเป็นแบบหน้าแปลนแบบยึดติดฝาประกับหน้า/หลัง ฯลฯ

  1. ต้องเลือกใช้ให้ถูกรุ่นของกระบอกลม เช่น กระบอกลมแบบมีฝาประกับหน้า/หลัง กระบอกลมโปรไฟล์ (Profile Air Cylinder) กระบอกลมแบบคอมแพ็ค (Compact Air Cylinder) แบบกระบอกลมมินิ ฯลฯ เพราะตัวยึดติด (Bracket) อาจจะใช้ติดตั้งแทนกันไม่ได้
  2. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกลม เพราะตัวยึดสำหรับกระบอกลมจะมีขนาดแตกต่างตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกด้วย
  3. จะยึดติดตายหรือยึดติดแบบให้โยกเอียงได้

ตัวอย่าง อุปกรณ์ต่อร่วมชนิดตัวหยึดติดกับฝาประกบหน้ากับพื้น

ตัวอย่าง อุปกรณ์ต่อร่วมชนิดตัวยึดแบบหน้าแปลนติดกับฝาประกบหน้าหรือ ฝาประกับหลัง

ตัวอย่าง ตัวยึดฝาประกับหลังกับพื้น แบบแยกเป็น 2 ชิ้น ส่วนสามารถปรับเอียงได้

** หมายเหตุ : ต้องใช้ตัวยึดรุ่น CB ร่วมกับรุ่น CR

ตัวอย่าง อุปกรณ์ต่อรวมประเภทตัวยึดรอบกลางกระบอกลมสำหรับยึดติดกับพื้น

** หมายเหตุ : ต้องใช้ตัวยึด รุ่น TC ร่วมกับรุ่น TCM1

2. จอยหรือข้อเกี่ยวสำหรับติดกับปลายก้านสูบของกระบอกลม (Join or Knuckle Shaft of air Cylinder)

ปลายก้านสูบของกระบอกลมมักจะทำเป็นเกลียวเพื่อใช้สำหรับต่อยึดกับยอยหรือข้อเกี่ยว (Joint/knuckle) ซึ้งจะไปยึดติดกับชิ้นงานอีกที

ตัวอย่าง จอย/ข้อเกี่ยว/ Knuckle แบบต่างๆ

จอยหรือข้อเกี่ยวแบบ I (Joint or I knuckle or Single Knuckle)

จอยหรือข้อเกี่ยว ขอเกี่ยวแบบ y (Joint or Y knuckle or Double Knuckle)

** หมายเหตุ : จอยแบบ I ใช้คู่กับจอยแบบ Y

จอยหรือข้อเกี่ยว แบบเยื้องหนีศูนย์ (Joint or Floating knuckle)

3. สวิทช์เซนเซอร์ (Sensor Switch)

สวิทช์เซนเซอร์ (Sensor switch) ส่วนมากจะเป็น หรีดสวิทช์ (Reed Switch) ซึ่งหน้าคอนแท็คของสวิทช์เป็นโลหะ ที่จะโดนแม่เหล็กถาวรที่เป็นรูปวงกลมติดอยู่บนลูกสูบข้างๆโอริงซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนประกอบของลูกสูบ หรีดสวิทช์ตั้งอยู่กับที่ เมื่อลูกสูบส่วนที่มีแม่เหล็กเคลื่อนมาอยู่ตรงกับตำแหน่งของหรีดสวิทช์ ชิ้นส่วนของตัวสวิทช์ที่เป็นโลหะจะถูกดูดให้เคลื่อนที่ให้หน้าคอนแท็คของสวิทช์มาติดกันหรือแยกออกจากกัน วงจรไฟฟ้าที่ผ่านหรีดสวิทช์ก็จะปิดวงจรหรือเปิดวงจร ทำให้สั่งวาล์วควบคุมทิศทางให้เปิดหรือปิดลมเข้ารูของกระบอกลม ก้านสูบก็จะเคลื่อนที่หรือหยุดการเคลื่อนที่

ตัวอย่างของสวิทช์เซนเซอร์แบบต่างๆ
การเลือกใช้สวิทช์เซนเซอร์

ตัวอย่างของการยึดติดตั้งตัวสวิทช์เซนเซอร์กระบอกลม

Exit mobile version