นิวเมติกส์ (Pneumatic)

air-compressor

บทความ นิวเมติกส์ (Pneumatic Article)

นิวเมติกส์ นิวเมติก หรือ นิวแมติกส์ Pneumatic เป็นศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากพลังงานไฟฟ้า ฯลฯ ไปเป็นพลังงานกล (ก้านสูบ กระบอกสูบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเป็นเส้นตรง หรือหมุนเป็นเส้นรอบวงกลม) โดยใช้ลมอัดเป็นตัวกลาง

คำว่า นิวเมติกส์ มาจากภาษากรีก จากคำว่า pnuematigos (นิวเมติกอส) บางครั้งเรียกว่า Pnuema (นิวเม, นิวมา) แปลว่า อากาศ ลมพัด

รัฐกรีกโบราณ รุ่งเรื่องยิ่งใหญ่ครองโลก และรัฐโรมันซึ่ง นำเอาเทคโนโลยีด้านนิวเมติกส์จากกรีก มาใช้ ทำให้มีแสนยานุภาพจนสามารถ ครองโลกอยู่พันปี โดยเริ่มก่อน คศ.500 ปี ชาวกรีกได้นำมาเอาลมอัดมาใช้ประโยชน์หลายๆ อย่าง

ตัวอย่างของกรีกที่นำเอาศาสตร์ของนิวเมติกส์มาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้กระบอกลมพ่นลมใส่กองไฟ เพื่อเพิ่มออกซิเจนให้กองไฟลุกโชน นำมาปรุงอาหาร ถลุงโลหะ และผลิตอาวุธ ไฟแห่งกรีก (GREEK FRIE) โดยใช้กระบอกลมอัดลมเข้าถังโลหะ ซึ่งบรรจุของเหลวมีส่วนผสมของน้ำมันและซัลเฟอร์นาฟทา (Naphtha) ทำให้ติดไฟแล้วดับยาก แม้จะดับด้วยน้ำทะเลปริมาณมาก ซึ่งในปัจจุบันระเบิดนาปาล์ม ก็มีคุณสมบัติคล้ายกับไฟแห่งกรีก

รูปทหารใช้ไฟแห่งกรีกซึ่งเป็นเทคโนโลยีด้านนิวเมติกส์ทำให้ฝ่ายตรงข้ามพ่ายแพ้

รูปเรือรบ ที่ใช้เทคโนโลยีด้านนิวเมติก ซึ่งทำให้กรีกและโรมันชนะสงกรามเปอร์เซีย

อุปกรณ์ที่ใช้ในงานนิวเมติกส์ระบบกำเนิดลมอัด และระบบท่อจ่ายลม

อุปกรณ์นิวเมติกส์ที่สำคัญ แบ่งเป็นหมวดต่างๆ ได้ดังนี้

1.เครื่องอัดลม เครื่องอัดอากาศ ปั๊มลม Air compressor  คือเครื่องปั๊มลม โดยมีปั๊มดูดอากาศผ่านตัวกรองลม เข้าไปในเครื่องอัดลม จะได้ลมอัดที่มีความดันสูงขึ้น จนความดันมากกองความดันบรรยากาศ 4-30 เท่า ลมอัดที่ออกมาจะมีความร้อน และมีไอน้ำอยู่ด้วย เพื่อไม่ให้ไอน้ำในลม กลั่นตัวออกมาเป็นหยดน้ำในท่อลมเมนหรือท่อสาขา เพื่อจะทำให้ลมมีอุณหภูมิลดลง จึงต้องมี heat Exchange ที่ใช้น้ำหล่อท่อเย็นไหลผ่านท่อที่อยู่ติดกับท่อลมร้อนไหลผ่าน อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า After cooler ทำให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ลมจะเคลื่อนที่เข้าไปในถังลมอัด Air Receiver Tank  เข้าสู่ Air Dryer เพื่อเอาน้ำออกจากลมจนแห้งมาก ทำให้ลมมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยลง จะได้ไม่มีน้ำค้างท่อ หลังจากนั้นลมจะไหลผ่าน ฟิลเตอร์เมน (Main Filter) ตัวกรองลมโดยมีชุด Automatic Drainer อยู่ข้างใต้ เพื่อปล่อยน้ำให้ออกไปจากระบบลม ลมที่แห้งและสะอาด จะไหลไปตามท่อ เพื่อไปยังเครื่องจักรที่ใช้ระบบลมนิวเมติกส์ต่างๆ ที่อยู่ปลายท่อสาขา

เครื่องอัดลม ปั๊มลม มีหลายประเภท เช่น

  1. แอร์คอมเพลสเซอร์ (Air Compressor) แบบลูกสูบ ซึ่งแบ่งเป็น Single Stage และแบบ Two Stage
  2. เครื่องอัดลมแบบใช้ใบพัดเลื่อน (Axial Vane Air Pump)
  3. แอร์คอมเพรสเซอร์ แบบสกรู (Screw Air Compressor)
  4. เครื่องอัดลมแบบไอดะแฟรม (Diaphragm Compressor)

รูปของปั้มลมเครื่องอัดลม แอร์คอมเพรสเซอร์

สัญลักษณ์ (นิวเมติกส์ไดอะแกรม)

2.ถังลมอัด(air receive tank)

สัญลักษณ์

3.ระบบส่งจ่ายลมอัด (compressor air distribution system)

รูปแอร์คอมเพลสเซอร์ และระบบการต่อท่อส่งจ่ายลมอัด (Air compressor and compressor air distribution system

รูปขยายของการต่อท่อแยกจากท่อลมหลัก

4. ระบบการเดินท่อลมแยกจากท่อเมนในโรงงาน แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

1. การเดินท่อเมนแบบแยกสาขา (Dead End Line)

1.ข้อดี ประหยัดเงิน
2.ข้อเสีย ถ้าท่อยาวมากๆ ความดันปลายท่อจะน้อยลงมา เพราะมี pressure drop สูญเสียความดัน เนื่องจากลมเสียดสีกับท่อสูง
3.เหมาะสำหรับโรงงานขนาดเล็ก

2. การเดินท่อเมนแบบวงแหวน (Ring Main Line)

1.ข้อดี ความดันสูญเสียน้อยลง ทำให้ความดันที่ปลายท่อสาขายังมีความดันสูงอยู่
2.ข้อเสีย เปลืองเงินค่าท่อมากกว่า
3.เหมาะสำหรับโรงงานที่มีพื้นที่ใหญ่ โรงงานขนาดใหญ่

Facebook Fanpage : นิวเมติกส์ (Pneumatic) ของ บริษัท พีเอชเอ ออโตเมชั่น จำกัด

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Exit mobile version